อารยธรรมกรีก
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 750 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) เมืองหลวงของประเทศกรีซในปัจจุบัน เป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลต่อโลกตะวันตกมาก
1.กำเนิดอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก 2 ส่วน ได้แก่อารยธรรมของชาวกรีกโบราณหรืออารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic Civilizaton, ปี 750-336 ก่อนคริสต์ศักราช) และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization, ปี 336-31 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กรีกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมาซิโดเนีย (Macedonia) และเป็นอารยธรรมที่ผสมผสานกับความเจริญที่รับจากดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมกรีกโดยรวม คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ชาวกรีกโบราณ และระบอบนครรัฐกรีก
ที่ตั้ง อารยธรรมกรีกเกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านและชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งกั้นระหว่างคาบสมุทรบอลข่านและเอเชียไมเนอร์ บริเวณเหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรมสำคัญของโลก คืออารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization ประมาณปี 2000-1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์จากเกาะครีต
อนึ่ง พื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านตอนใต้ยังประกอบด้วยภูเขาและที่ราบสูงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรวมศูนย์อำนาจปกรอง ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐและมักเกิดสงครามระหว่างนครรัฐ เช่น กรณีนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ทำสงครามรุกรานกรุงเอเธนส์ อนึ่ง กรีกยังมีพื้นที่ราบเพาะปลูกไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้เพียงอย่างเดียว แต่สภาพที่ตั้งซึ่งมีชายฝั่งทะเลและท่าเรือที่เหมาะสมจำนวนมาก ชาวกรีกจึงสามารถประกอบอาชีพประมงและเดินเรือค้าขายกับดินแดนต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งมีโอกาสขยายอิทธิพลไปยึดครองดินแดนอื่นๆ ในเขตเอเชียไมเนอร์ด้วย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดอารยธรรมต่อกัน โดยเฉพาะการนำอารยธรรมของโลกตะวันออกไปสู่ตะวันตก
ชาวกรีกโบราณ ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่าต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน (Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีต
ต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู)แบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถรวมอำนาจปกครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด
หลักจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 กาอนคริสต์ศักราช นครรัฐกีกอื่นๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนาครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูกกษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์รุกรานและครอบครองเมืื่อปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้นสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่างๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโรมัน
ระบอบนครรัฐกรีก การปกครองแบบนครรัฐของกรีกที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้นครรัฐแต่ละแห่งมีโอกาสพัฒนารูปแบบและวิธีการปกครองของตนเอง นครรัฐสำคัญที่มีบทบาทพัฒนาอารยธรรมด้านการปกครอง ได้แก่ สปาร์ตาและเอเธนส์
นครรัฐสปาร์ตา มีการปกครองแบบทหารนิยม คณะผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด พลเมืองชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ต้องถูกฝึกฝนให้เป็นทหาร เรียนรู้วิธีการต่อสู้และเอาตัวรอดในสงคราม แม้แต่พลเมืองหญิงก็ยังต้องฝึกให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อเตรียมเป็นมารดาของทหารที่แข็งแกร่งในอนาคต อนึ่ง พวกสปาร์ตายังต่อต้านความมั่งคั่งฟุ่มเฟือย เพราะเกรงว่าอำนาจของเงินตราจะทำลายระเบียบวินัยทหาร รวมทั้งยังไม่สนับสนุนการค้าขายและการสร้างสรรค์ศิลปกรรมใดๆ การปกครองของพวกสปาร์ตานับเป็นการขัดขวางสิทธิของปัจเจกชน และเป็นต้นกำเนิดของระบอบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)
นครรัฐเอเธนส์ เป็นต้นกำเนิดของรัฐประชาธิปไตย นครรัฐเอเธนส์ปกครองโดยสภาห้าร้อย ซึ่งได้รับเลือกจากพลเมืองเอเธนส์ที่มีสิทธิออกเสียง สภานี้มีหน้าที่ตรวจสอบร่างกฎหมายและบริหารการปกครอง นอกจากนี้ยังมีสภาราษฎร ซึ่งเป็นที่ประชุมของพลเมืองที่มีสิทธิออกเสียงทุกคนและทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย การที่เอเธนส์ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ปัจเจกชน ทำให้เกิดนักคิดและนักปราชญ์ที่เรียกว่าพวกโซฟิสต์ (Sophists) สำนักต่างๆ ในสังคมเอเธนส์ แนวคิดและปรัชญาของนักปรัชญาคนสำคัญ ได้แก่ โซเครติส และเพลโต ยังเป็นหลักปรัชญาของโลกตะวันตกด้วย
2.ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีก ชาวกรีกได้สร้างสรรค์ความเจริญให้เป็นมรดกแก่ชาวโลกจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ ความเจริญด้านศิลปกรรม ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรมและวิทยาการต่างๆ
ศิลปกรรม ความเจริญด้านศิลปกรรมเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมกรีกซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของงานศิลปกรรมของโลก ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธาทางศาสนา โดยสร้างขึ้นเพื่อแสดงความเคารพบูชาและบวงสรวงเทพเจ้าของตน ผลงานที่ได้รับการยกย่องมีจำนวนมากที่สำคัญได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปะการแสดง
ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกวว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก
ด้านประติมากรรม ผลงานด้านประติมากรรมจัดว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดในงานศิลปกรรมของกรีก ชาวกรีกสร้างงานประติมากรรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นเทพเจ้าของกรีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชาวกรีกยอมรับและเชื่อมั่นคุณค่าของมนุษย์ ผลงานประติมากรรมจึงดูเป็นธรรมชาติ ลักษณะของสรีระกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ผลงานชิ้นเยี่ยมได้แก่ รูปปั้นเทพเจ้าอะทีนา ที่วิหารพาร์เทนอน และเทพเจ้าซุส ที่วิหารแห่งโอลิมเปีย
รูปปั้นเทพเจ้าอะทีนา
รูปปั้นเทพเจ้าซุส
ด้านจิตรกรรม ที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เขียนบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ฯลฯ และจิตรกรรมฝาผนังที่พบในวิหารและกำแพง
ศิลปะการแสดง ชาวกรีกได้คิดค้นศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการจัดแสดงเพื่อเฉลิมฉลองพิธีบวงสรวงเทพเจ้าของตน เช่น ละครกลางแจ้งซึ่งเป็นต้นแบบของการแสดงละครในปัจจุบัน ดนตรีและการละเล่นอื่นๆ
ปรัชญา ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล
โซเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399 ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง 150 แห่ง
การศึกษา การศึกษามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวกรีก เพราะทำให้มีสถานะที่ดีในสังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงจะมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะชาวเอเธนส์เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ถ้าหากผู้นำมีการศึกษา ดังนั้นจึงจัดการศึกษาขั้นประถมให้แก่เด็กชายโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
วิชาที่สอนในระดับประถมศึกษา ได้แก่ ไวยากรณ์กรีก ซึ่งรวมถึงมหากาพย์ อีเลียด (Iliad) และ โอเดสซี (Odyssey) ของโฮเมอร์ (Homer) ดนตรี และยิมนาสติก หลักสูตรนี้เน้นการฝึกฝนความรู้ด้านภาษา อารมณ์ และความแข็งแกร่งของร่างกาย ส่วนเด็กโตจะศึกษาวิชากวีนิพนธ์ การปกครอง จริยศาสตร์ ตรีโกณมิติ ดาราศาตร์ วาทกรรม เมื่อสำเร็จหลักสูตรแล้ว เยาวชนชายเหล่านี้ก็มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาและร่างกายและพร้อมเป็นพลเมืองกรีกเมื่ออายุครบ 19 ปี
วิธีจัดหลักสูตรที่สร้างความพร้อมให้แก่พลเมืองทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และร่างกายนี้ เป็นแบบอย่างที่นักการศึกษาของโลกตะวันตกนำมาพัฒนาใช้จนถึงปัจจุบัน
วรรณกรรม วรรณกรรมของกรีกได้รับการยกย่องอยู่ในกลุ่มวรรณกรรมที่ดีที่สุดของโลก วรรณกรรมที่โดดเด่นได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอเดสซี ซึ่งแต่งขึ้นประมาณช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เพื่อสะท้อนความรู้สึกของกวีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามกรุงทรอย (Troy) นอกจากความงดงามของภาษาและการดำเนินเรื่องแล้ว มหากาพย์ทั้งสองเรื่องนี้ยังให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณีและความคิดของชาวกรีกในช่วง 1000-700 ปีก่อนคริสต์ศักราช
นอกจากผลงานที่ยิ่งใหญ่นี้แล้ว กรีกยังมีผลงานด้านวรรณกรรมอีกจำนวนมาก เช่น โศลก กวีนิพนธ์ วรรณคดี และบทละคร ซึ่งมีทั้งประเภทโศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม จัดเป็นต้นแบบของการแสดงละครของชาวตะวันตกที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ความเจริญของวิทยาการต่างๆ กรีกเป็นต้นแบบของโลกตะวันตกในการพัฒนาความเจริญด้านวิทยาการต่างๆ
ประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และมาตรฐานของวิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เจริญรุ่งเรืองมากตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกค้นพบทฤษฎีทางเรขาคณิตและพีชคณิต ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคำนวณและประมวลผลขั้นสูง นอกจากนี้กรีกยังมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีอริสโตเติลเป็นผู้วางรากฐานการศึกาษวิชาพฤกษศาสตร์ สัตวแพทย์ และกายวิภาค
ด้านการแพทย์ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) เป็นแพทย์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียง และค้นพบว่าโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากธรรมชาติไม่ใช่การลงโทษลงพระเจ้า เชาเชื่อว่าวิธีการรักษาืที่ดีที่สุดคือการควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ ฮิปโปเครตีสยังเป็นผู้ริเริ่มวิธีการรักษาโรคด้วยการผ่าตัด และกำหนดหลักจรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ดาราศาตร์และภูมิศาสตร์ ความก้าวหน้าด้านคณิตศาสตร์ ช่วยให้นักดาราศาตร์ชาวกรีกคำนวณตำแหน่งของดวงดาวและระบบสุริยจักรวาล นักดาราศาตร์กรีกบางคนเชื่อว่าโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุนรอบดวงอาทิตย์ อย่างไรก้ตาม พวกเขาไม่สามารถโน้มน้าวให้ชาวกรีกยอมรับการค้นพบนี้ อนึ่ง นักภูมิศาสตร์กรีกยังเชื่อว่าโลกกลมซึ่งทำให้สามารถเดินเรือจากกรีกไปถึงอินเดียได้ รวมทั้งยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์
ดินแดนของกรีกบนพื้นแผ่นดินในทวีปยุโรปแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1.1 ภาคเหนือ ได้แก่ แคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) และอิไพรัส (Epirus)
1.2 ภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่เป็นเนินเขาสูง เป็นที่ตั้งของนครทีบส์ (Thebes) นครเดลฟี (Delphi) ช่องเขาเทอร์มอปิเล (Thermopylae) และยอดเขาพาร์แนสซัส (Parnassus) ซึ่งเป็นที่สถิตของอะพอลโล (Apollo) หรือสุริยเทพ ตรงปลายสุดของด้านตะวันออก คือ แคว้นอัตติกา (Attica) ซึ่งมีเมืองหลวง คือ นครเอเธนส์ (Athens) แหล่งกำเนิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย
1.3 บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus) อยู่ตอนใต้อ่าวคอรินท์ เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ที่มีชื่อเสียงด้านการรบ และโอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีก
2. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่ออารยธรรมกรีก
ภูมิประเทศของกรีก ประกอบด้วย ภูเขา พื้นดิน และทะเล โดยกรีกมีพื้นที่ราบน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และหมู่เกาะในทะเลอีเจียน ประชาชนอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้ทำให้แยกชุมชนต่างๆออกจากกัน ส่งผลให้แต่ละเมืองแตกแยกเป็นนครรัฐต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน นครรัฐที่สำคัญได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา พื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์และมีพื้นดินขนาดเล็ก ประกอบกับมีแม่น้ำสายสั้น ๆ น้ำไหลเชี่ยวและพัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ของดินไป และจากลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ทำให้กรีกมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ซึ่งความเว้าแหว่งของทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอ่าวสำหรับจอดเรือ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนชอบค้าขายทางทะเล นอกจากนี้ดินแดนกรีกยังเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน เป็นต้น
3. อารยธรรมเริ่มต้นของอารยธรรมกรีก
3.1 อารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization)
เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นที่เกาะครีต โดยมีชาวครีตหรือชาวครีตันเป็นชนพื้นเมืองของเกาะนี้ กษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส พระราชวังที่สำคัญ คือ พระราชวังคนอสซุส
พระราชวังคนอซุส พระราชวังของกษัตริย์ไมโนน
ภาพเฟรสโกภายในพระราชวัง (ภาพที่ลงสีขณะปูนยังเปียกอยู่)
ภาพแสดงวิถีชีวิของชาวไมโนน
ความเสื่อมของอารยธรรมไมโนน
1) เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่ทำลายเมือง
2) การรุกรานของพวกไมซินีจากแผ่นดินใหญ่
3.2 อารยธรรมไมซินี (Mycenae Civilization)
เป็นอารยธรรมของพวกไมซีเนียน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบสมทรเพโลพอนนีซัส โดย บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน มีความสามารถในการรบและการค้า ซึ่งพวกนี้โจมตีเกาะครีต ทำลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองไมซีเนขึ้น ซึ่งมีป้อมปราการที่แข็งแรง ทำให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง ต่อมาพวกเอเคียนได้ไปทำสงครามกับเมืองทรอยในสงครามโทจัน เนื่องจากเมืองทรอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับเมืองไมซีเนจนสำเร็จ
มรดกของอารยธรรมไมซีเน คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์รวมทั้งเทพเจ้าซุส (Zeus) เฮรา (Hera) และโพไซดอน เป็นต้น
ความเสื่อมของอารยธรรมไมซีเน คือถูกพวกดอเรียนซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ามารุกรานจนทำให้ความเจริญหยุดลงชั่วขณะ
แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมไมซีนี
4. กรีกยุคมืด
เนื่องจากการขาดหลักฐานการเขียนทำให้ความรู้ของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกจำกัด โดยสงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีกพินาศ ซึ่งสร้างความยากจนและสับสน ทางการเมืองซึ่งยาวนาน กษัตริย์ไมซีเนียนถูกแทนที่ด้วยหัวหน้าเล็ก ๆ ผู้มีอำนาจและทรัพย์สินจำกัด ศิลปินหยุดการวาดคนและสัตว์บนหม้อไห กรีกเพาะปลูกในพื้นดินน้อยนิด มีคนมาตั้งถิ่นฐานน้อย และการค้าสากลน้อยกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ของกรีกยุคมืดปรากฏอยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่องมหากาพย์อิเลียด และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งมหากาพย์อิเลียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามกับทรอย ส่วนมหากาพย์โอดิสซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับชัยชนะจากการทำสงครามกับทรอย
5. อารยธรรมของกรีก
อารยธรรมกรีกประกอบด้วย อารยธรรมเฮเลนิก และอารยธรรมเฮเลนิสติค
5.1 อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age)
ในสมัยนี้มีการสร้างอาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กันของผู้คนในนครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์
5.1.1 นครรัฐสปาร์ตา
ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาว สปาร์ตาจึงต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง จรทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการปกครองแบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของชาว สปาร์ตาไม่มีท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการรบอีกด้วย
5.1.2 นครรัฐเอเธนส์
เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า
ในยุคคลลาสสิคนี้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ 2 ครั้ง ได้แก่ สงครามเปอร์เซียและสงครามเพโลพอนเนเชียน
1) สงครามเปอร์เซีย
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ ผลของสงคราม คือ เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย
2) สงครามเพโลพอนเนเชียน
ชาวกรีกเกิดความคิดในการเตรียมการป้องกันชาวเปอร์เซีย นครรัฐต่างๆ ของกรีกจึงต่างเข้ามาเป็นสมาชิก และสมาชิกแต่ละนครรัฐมีสิทธิเท่าเทียม ทำให้นครรัฐกรีกร่วมกันตั้งสหพันธ์แห่งเกาะเดลอส สหพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วนครรัฐเอเธนส์มีอิทธิพลในการเป็นผู้นำ ต่อมาสหพันธรัฐเปลี่ยนสภาพเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ เอเธนส์ใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ลดฐานะสมาชิกอื่น ๆ ให้อยู่ในฐานะบริวาร และห้ามไม่ให้รัฐสมาชิกแยกตัวออกจากสหพันธ์ เมื่อรัฐใดก่อกบฏก็จะใช้กำลังปราบโดยยึดกองทหารเรือและเก็บเครื่องราชบรรณาการ วิธีนี้ทำให้นครรัฐสปาร์ตากลัวว่า เอเธนส์จะเป็นผู้นำกรีกทั้งหมด และเนื่องจากสภาพสังคมของทั้ง 2 รัฐแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลของสงคราม คือ นครรัฐสปาร์ตาชนะ ทำให้นครรัฐสปาร์ตาได้เอเธนส์ไว้ในอำนาจ และนำระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตยมาใช้ แต่การปกครองของสปาร์ตาไม่มั่นคงจึงทำให้นครรัฐสปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของนครธีบีสและเอเธนส์ ในที่สุดกรีกทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาซิโดเนีย
5.2 อารยธรรมเฮเลนิสติก
เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกเสื่อมลง เนื่องมาจากสงครามเพโลพอนเนเชียน และแคว้นมาซิโดเนียเจริญขึ้น โดยแคว้นมาซิโดเนียมีกษัตริย์องค์สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้นครรัฐกรีกไว้ในอำนาจ และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้ทำการปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ บนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการปกครองเปอร์เซีย
อ้างอิงอันที่2
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)